ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Laravel Eloquent

 


สำหรับมือใหม่ที่เริ่มพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันโดยใช้ Laravel เมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับ database อาจจะต้องปวดหัวกับ Eloquent และเรื่องราวในวันนี้จะมาพูดถึงว่า มันคืออะไร และใช้งานยังไง

อย่างที่ใน docs ได้อธิบายคร่าวๆ ว่า Eloquent คือ ORM ตัวหนึงที่เสริมในเรื่องของ Relations เข้ามา ซึ่งการเชื่อมโยง หรือ Relations ไม่ไช่การ join แต่เป็นการบอกให้ Model รู้ว่ามี relations กับ table ไหนใน database ของเรา


ยกตัวอย่างเช่น

ข้อมูลของตาราง Users ที่เราออกแบบว่าจะแยกข้อมูลกันดังนี้

  • Users
  • Addresses
จาก 2 ตารางด้านบน เราจะทำการเขียนโค้ดให้เชื่อมข้อมูลกันจาก Model ของ Users โดยจะต้องมี column ที่นำมาเชื่อมกันด้วย เช่น ที่ตารางของ addresses จะต้องมี column user_id เก็บไว้ด้วย

โดยเราจะใช้ Relation One To One ในการทำ relation กัน 

หลายๆ คนจะ งง ว่ามำดึงข้อมูลมายังไง

จริงๆ ตัว Eloquent จะทำการ query มาใหม่ไม่ได้ใช้ query เดียว จาก ตัวอย่างข้างบน ถ้าทำถูกต้องได้ 2 query

select * from users where id='1'

select * from addresses where user_id=1


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเพิ่ม Font ภาษาไทยอื่นๆ เข้าไปใช้งานใน MPDF

เนื่องมาจากผมได้มีโอกาสจับงานที่ต้องแปลงหน้าเว็บให้เป็น PDF ลองๆ หาข้อมูลก็ไปเจอเจ้าตัวนี้ MPDF  ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีให้ใช้งานอีกหลายๆ ตัว สาเหตุที่เลือกใช้งานตัวนี้เพราะมัน ค่อนข้างจะติดตั้ง และใช้งานง่าย และยังสามารถอ้างอิง CSS เข้ามาช่วยจัดหน้าตาใน PDF ได้อีกด้วย ซึ่งผลที่ได้เพี้ยนไปจากตัวจริงไม่มากครับ แต่ที่ทำให้เลือกใช้งานเพราะการเพิ่มฟ้อนท์ภาษาไทย เข้าไปนั้นค่อนข้างง่ายครับ เลยจะขอมาแนะนำดังนี้

การใช้งาน คำสั่ง file_exists() อย่างเข้าใจ

นี่อาจจะไม่เรื่องใหม่อะไรสำหรับ Professional ทั้งหลาย แต่ว่าสำหรับผมที่เข้าใจ และใช้งานอย่างผิดๆ มาตลอด จนบางทีก็เข้าใจว่า เราเขียนผิด หรือ คำสั่งมันใช้งานไม่ได้ วันนี้จะขอมาพูดถึงเรื่องของคำสั่ง PHP ที่ชื่อ file_exists เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบไฟล์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่? ตัวอย่างการใช้งานแบบผิดๆ ที่ผมใช้ก็คือ file_exists('/images/news/helloworld.jpg'); ผลลัพธ์ที่ได้คือ FALSE ถึงแม้ว้าจะมีไฟล์นั้นอยู่จริงก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้งานที่ถูกต้องคือ file_exists($_SERVER['DOCUMENT_ROOT'] . '/images/news/helloworld.jpg'); จากตัวอย่างที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่าคำสั่ง file_exists นั้นใช้สำหรับเช็ค path ในโฟลเดอร์จริงๆ เท่านั้น ไม่สามารถเช็คจาก URL ได้ อันนี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ผมเข้าใจผิดมาอยู่นานเลยทีเดียวเลยต้องขอลงบันทึกเตือนตัวเองไว้อีกที :3

มาเข้าใจ และใช้ Datatable ดึงข้อมูลแบบ Server-side ด้วย PHP, MySQL กันเถอะ

มีช่วงหนึงผมเคยนำ datatable มาพัฒนาในงานแต่เกิดปัญหาเนื่องจากมีข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการโหลดในครั้งแรกที่โหลดหน้าเพจนั้นๆ เนื่องจากผมใช้ Ajax ในการโหลดข้อมูลทั้งหมดมาในครั้งเดียวด้วยจำนวนข้อมูล 1000 ขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่าการทำ preload น่าจะช่วยได้ แต่ว่าถ้า user เกิดเผลอไปกด refesh หรือแก้ไขข้อมูลเวลากลับมาที่หน้าข้อมูลก็ต้องโหลดใหม่อีก ทำให้ผมเลิกใช้ datatable ไปเลย เพราะคิดว่ามันคงไม่เหมาะ แต่ในความจริงแล้ว datatable ก็ได้มีสิ่งที่มาแก้ในจุดนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า server-side โดยการที่อนุญาตให้เรา query ข้อมูลออกมาก่อนแล้วส่งมาให้ datatable อ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยลง หลักการก็เหมือนๆ กับบทความการทำสร้าง XML จากข้อมูลขนาดใหญ่นั่นแหละครับ แต่มีเงื่อนไขเพียงแต่ว่า ต้อง Filter และส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ตรงตามหลักของ datatable เท่านั้น ( บางครั้งเวลาเข้าไปอ่าน Document หรือดู Example จะงงๆ ว่าอะไรเยอะแยะ ) โดยวันนี้จะมาแนะนำการใช้งานแบบง่ายๆ กันเลย :D