ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลดล็อคความสามารถให้กับ Sublime Text ตอนที่ 1



นานมาแล้วที่ผมเคยใช้ Dreamweaver ในการพัฒนาเว็บไซต์ตั้งแต่ CS 3 จนกระทั่งถึง CS 6 จนผมได้มาพบ Text Editor ที่ทรงพลังตัวหนึงเข้าและเกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก จึงลองเปิดเปลี่ยนมาใช้มันดู ถ้าบอกตามความจริงแล้ว ผมเพียงแต่ใช้ตามเทรนน่ะครับ แบบเห็นคนเค้าใช้กันก็ลองใช้ดู แต่ที่ได้เห็นกับตาจริงๆ ก็คือ การโหลดโปรแกรมที่ไวในตอนเริ่ม

ก่อนจะเกริ่นต่อไป ผมขอออกตัวนะครับ ว่าไม่ได้ไช่พวกคลั่ง  Sublime Text หรือจะมาบอกว่าดีกว่าตัวอื่นๆ แค่จะมานำเสนอความสามารถที่ซ่อนอยู่ สำหรับเพื่อนๆ ที่ลองใช้แล้วไม่เข้าใจว่ามันดียังไง .. เพราะความจริงก่อนหน้านั้นผมก็ใช้ Editpus หรือแม้แต่ Eclipse มาบ้างซึ่งก็ใช้ตามสถานการณ์ไม่ได้เจาะจงว่าต้อง Sublime อย่างเดียว .. สำหรับคนที่ใช้ Dreamweaver ก็อย่ากังวลครับ ไม่ได้มาบอกว่าใครที่ใช้ไม่โปร อันนี้ไม่เกี่ยวนะครับ ออกตัวไว้ให้รับทราบกันก่อน





มาต่อกันครับ ว่าด้วยโปรแกรมนั้นเปิดให้ใช้ฟรี ย้ำว่าฟรี แต่ทุกๆ 500 ครั้ที่เซฟงานจะมีการถามว่าต้องการซื้อมั้ย? มาคอยกวนใจท่าน หากไม่เหนือบ่ากว่าแรง หากชอบจริงๆ จัดไปเลยครับ สนับสนุนคนทำ ส่วนที่สำคัญที่ทำให้ Sublime น่าสนใจก็คือ Plugins ต่างๆ ที่มีผู้พัฒนาทำขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับมัน สามารถทำได้ตามคำแนะนำลิ้งค์เลยครับ

https://packagecontrol.io/installation

ปล. ใครใช้เวอร์ชันไหนก็ทำให้ถูกเวอร์ชันนะครับ



เมื่อทำเสร็จแล้ว Sublime ของคุณจะสามารถใช้คำสั่ง Install Package ได้โดยการกด Crtl + Alt + P
แล้วจะมีให้เราเลือกเลยครับว่าต้องการโหลด Plugin อะไรบ้าง ส่วนนี้จะไปแนะนำในตอนต่อไปนะครับ

เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถเพิ่มความสามาจาก Text Editor ธรรมดาให้มีเครื่องมือ ของเล่นมากมายให้ท่านใช้ได้อย่างสนุกเลยละครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเพิ่ม Font ภาษาไทยอื่นๆ เข้าไปใช้งานใน MPDF

เนื่องมาจากผมได้มีโอกาสจับงานที่ต้องแปลงหน้าเว็บให้เป็น PDF ลองๆ หาข้อมูลก็ไปเจอเจ้าตัวนี้ MPDF  ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีให้ใช้งานอีกหลายๆ ตัว สาเหตุที่เลือกใช้งานตัวนี้เพราะมัน ค่อนข้างจะติดตั้ง และใช้งานง่าย และยังสามารถอ้างอิง CSS เข้ามาช่วยจัดหน้าตาใน PDF ได้อีกด้วย ซึ่งผลที่ได้เพี้ยนไปจากตัวจริงไม่มากครับ แต่ที่ทำให้เลือกใช้งานเพราะการเพิ่มฟ้อนท์ภาษาไทย เข้าไปนั้นค่อนข้างง่ายครับ เลยจะขอมาแนะนำดังนี้

มาเข้าใจ และใช้ Datatable ดึงข้อมูลแบบ Server-side ด้วย PHP, MySQL กันเถอะ

มีช่วงหนึงผมเคยนำ datatable มาพัฒนาในงานแต่เกิดปัญหาเนื่องจากมีข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการโหลดในครั้งแรกที่โหลดหน้าเพจนั้นๆ เนื่องจากผมใช้ Ajax ในการโหลดข้อมูลทั้งหมดมาในครั้งเดียวด้วยจำนวนข้อมูล 1000 ขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่าการทำ preload น่าจะช่วยได้ แต่ว่าถ้า user เกิดเผลอไปกด refesh หรือแก้ไขข้อมูลเวลากลับมาที่หน้าข้อมูลก็ต้องโหลดใหม่อีก ทำให้ผมเลิกใช้ datatable ไปเลย เพราะคิดว่ามันคงไม่เหมาะ แต่ในความจริงแล้ว datatable ก็ได้มีสิ่งที่มาแก้ในจุดนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า server-side โดยการที่อนุญาตให้เรา query ข้อมูลออกมาก่อนแล้วส่งมาให้ datatable อ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยลง หลักการก็เหมือนๆ กับบทความการทำสร้าง XML จากข้อมูลขนาดใหญ่นั่นแหละครับ แต่มีเงื่อนไขเพียงแต่ว่า ต้อง Filter และส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ตรงตามหลักของ datatable เท่านั้น ( บางครั้งเวลาเข้าไปอ่าน Document หรือดู Example จะงงๆ ว่าอะไรเยอะแยะ ) โดยวันนี้จะมาแนะนำการใช้งานแบบง่ายๆ กันเลย :D

การใช้งาน คำสั่ง file_exists() อย่างเข้าใจ

นี่อาจจะไม่เรื่องใหม่อะไรสำหรับ Professional ทั้งหลาย แต่ว่าสำหรับผมที่เข้าใจ และใช้งานอย่างผิดๆ มาตลอด จนบางทีก็เข้าใจว่า เราเขียนผิด หรือ คำสั่งมันใช้งานไม่ได้ วันนี้จะขอมาพูดถึงเรื่องของคำสั่ง PHP ที่ชื่อ file_exists เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบไฟล์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่? ตัวอย่างการใช้งานแบบผิดๆ ที่ผมใช้ก็คือ file_exists('/images/news/helloworld.jpg'); ผลลัพธ์ที่ได้คือ FALSE ถึงแม้ว้าจะมีไฟล์นั้นอยู่จริงก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้งานที่ถูกต้องคือ file_exists($_SERVER['DOCUMENT_ROOT'] . '/images/news/helloworld.jpg'); จากตัวอย่างที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่าคำสั่ง file_exists นั้นใช้สำหรับเช็ค path ในโฟลเดอร์จริงๆ เท่านั้น ไม่สามารถเช็คจาก URL ได้ อันนี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ผมเข้าใจผิดมาอยู่นานเลยทีเดียวเลยต้องขอลงบันทึกเตือนตัวเองไว้อีกที :3