ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Affiliate คืออะไร?

ช่วงหลังๆ เปลี่ยนสายจากงานเว็บให้ข้อมูลข่าวสาร มาเป็นเว็บแอพลิชันที่เกี่ยวข้องการสื่อโฆษณาการตลาด ซึ่งเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น ถึงขั้นว่าแม่บ้านชาวญี่ปุ่นเอาเวลาว่างยามบ่าย หลังจากที่ทำงานบ้านเสร็จแล้วมาหารายได้เสริม ช่วยจุลเจือความเป็นอยู่ภายในบ้านได้ดีเลยทีเดียว

ซึ่งเรียกกิจกรมนั้นๆ ว่า Affiliate!!



Affiliate คือ รูปแบบการโปรโมทสินค้าที่ขายอยู่บนอินเตอร์เน็ต โดยผ่านการคลิก Links รายได้จะไม่เกิดจากการคลิกเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเกิดผลสำเร็จของการโฆษณานั้นๆ ด้วย เช่น นายเอ มากด Links ขายรองเท้าจากนั้นเข้าไปดูเกิดสนใจ และกดซื้อจนสิ้นสุดกระบวนการขายในระบบ เมื่อมาถึงตรงนี้รายได้ถึงจะเกิด ทำให้ Affiliate นั้นเป็นการโฆษณาที่เห็นผล และวัดได้จริง

ปัจจุบันในประเทศไทยก็มีระบบ Affiliate ให้เราเห็นอยู่มากมาย จะแบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 2 ส่วน

  1. Advertisers ( ผู้ลงโฆษณา )
  2. Partners / Publisher ( ผู้เผยแพร่โฆษณา )
แน่นอนว่า Advertiser คือ ผู้ที่สนใจลงโฆษณาสินค้าของตนเองบนเว็บไซต์ผู้ให้บริการ และจ่ายเงินค่าลงโฆษณาให้กับทางเจ้าของเว็บไซต์ และ แม่บ้านชาวญี่ปุ่นที่ใช้เวลาว่างจากการเม้ามอยกับข้างบ้านมาทำ Affiliate ก็คือ Partners หรือ Publisher นั่นเอง มีหน้าที่เอาโฆษณาเหล่านั้นมาโฆษณาให้

ยังไงล่ะ? แม่บ้านนะจะไปมีสื่อแบบนั้นได้ไงกัน?



เป็นที่น่าตกใจครับ ว่าเค้าเหล่านั้นมีความรู้ ความสนใจ ในการเขียนบล็อค ที่เกี่ยวกับอะไรก็ได้ แล้วไปเอาโฆษณานั้นไปลงในบล็อคของตัวเอง ซึ่งหนึ่งคนอาจจะมีมากกว่าหนึ่งบล็อค ก่อเกิดรายได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ( เนื่องจากการโฆษณารูปแบบนี้เป็นที่นิยม รายได้จึงเกิดมากตาม )

Affiliate ได้ต่อยอดออกมาได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบที่เป็นเว็บไซต์หลัก หรือแม้แต่เป็นระบบเสริมของเว็บก็ได้ แตกสายมาจนเป็น Reward System!!

Reward System นั้นก็เป็นการแตกสายของ Affiliate อย่างหนึ่ง แต่กิจกรรมในการโฆษณานั้น จะเป็นในรูปแบบที่ผู้ให้บริกานั้นเป็นเจ้าของโฆษณา โดยสร้างโฆษณา และให้คนภายนอกเข้ามาทำกิจกรรมของโฆษณานั้น เช่น การลงทะเบียน การขายสินค้าออนไลน์ ฯลฯ และผู้ใช้งานจะได้รับค่าตอบแทนเป็นคะแนนสะสม ซึ่งสามารถนำคะแนนนั้นไปแลกเปลี่ยนเป็น เงินสด บัตรส่วนลด ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับ Partner ที่ร่วมรายการกับผู้ให้บริการเว็บไซต์

ซึ่งแน่นอนว่ารูปแบบเว็บไซต์แบบนี้ยังมีให้บริการไม่มาก และยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่เชื่อเถอะครับถ้าเว็บแบบนี้แพร่หลาย เราๆ ชาว IT คงยิ้มสบายเพราะวันๆ คงเอาแต่ไปนั่งทำกิจกรรม ล่าเควสสะสมคะแนน แลกของรางวัลกันสนุกเลยทีเดียว 



ซึ่งล่าสุดก็จะมีเว็บไซต์ Richpoint เปิดให้บริการประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้นะ เป็นเว็บไซต์ที่ให้เราสามารถเข้าไปเลือกทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อรับคะแนน และรับคะแนนไปแลกของรางวัลต่างได้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สามารถเข้าไปลองใช้งานดูกันได้นะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเพิ่ม Font ภาษาไทยอื่นๆ เข้าไปใช้งานใน MPDF

เนื่องมาจากผมได้มีโอกาสจับงานที่ต้องแปลงหน้าเว็บให้เป็น PDF ลองๆ หาข้อมูลก็ไปเจอเจ้าตัวนี้ MPDF  ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีให้ใช้งานอีกหลายๆ ตัว สาเหตุที่เลือกใช้งานตัวนี้เพราะมัน ค่อนข้างจะติดตั้ง และใช้งานง่าย และยังสามารถอ้างอิง CSS เข้ามาช่วยจัดหน้าตาใน PDF ได้อีกด้วย ซึ่งผลที่ได้เพี้ยนไปจากตัวจริงไม่มากครับ แต่ที่ทำให้เลือกใช้งานเพราะการเพิ่มฟ้อนท์ภาษาไทย เข้าไปนั้นค่อนข้างง่ายครับ เลยจะขอมาแนะนำดังนี้

มาเข้าใจ และใช้ Datatable ดึงข้อมูลแบบ Server-side ด้วย PHP, MySQL กันเถอะ

มีช่วงหนึงผมเคยนำ datatable มาพัฒนาในงานแต่เกิดปัญหาเนื่องจากมีข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการโหลดในครั้งแรกที่โหลดหน้าเพจนั้นๆ เนื่องจากผมใช้ Ajax ในการโหลดข้อมูลทั้งหมดมาในครั้งเดียวด้วยจำนวนข้อมูล 1000 ขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่าการทำ preload น่าจะช่วยได้ แต่ว่าถ้า user เกิดเผลอไปกด refesh หรือแก้ไขข้อมูลเวลากลับมาที่หน้าข้อมูลก็ต้องโหลดใหม่อีก ทำให้ผมเลิกใช้ datatable ไปเลย เพราะคิดว่ามันคงไม่เหมาะ แต่ในความจริงแล้ว datatable ก็ได้มีสิ่งที่มาแก้ในจุดนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า server-side โดยการที่อนุญาตให้เรา query ข้อมูลออกมาก่อนแล้วส่งมาให้ datatable อ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยลง หลักการก็เหมือนๆ กับบทความการทำสร้าง XML จากข้อมูลขนาดใหญ่นั่นแหละครับ แต่มีเงื่อนไขเพียงแต่ว่า ต้อง Filter และส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ตรงตามหลักของ datatable เท่านั้น ( บางครั้งเวลาเข้าไปอ่าน Document หรือดู Example จะงงๆ ว่าอะไรเยอะแยะ ) โดยวันนี้จะมาแนะนำการใช้งานแบบง่ายๆ กันเลย :D

การใช้งาน คำสั่ง file_exists() อย่างเข้าใจ

นี่อาจจะไม่เรื่องใหม่อะไรสำหรับ Professional ทั้งหลาย แต่ว่าสำหรับผมที่เข้าใจ และใช้งานอย่างผิดๆ มาตลอด จนบางทีก็เข้าใจว่า เราเขียนผิด หรือ คำสั่งมันใช้งานไม่ได้ วันนี้จะขอมาพูดถึงเรื่องของคำสั่ง PHP ที่ชื่อ file_exists เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบไฟล์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่? ตัวอย่างการใช้งานแบบผิดๆ ที่ผมใช้ก็คือ file_exists('/images/news/helloworld.jpg'); ผลลัพธ์ที่ได้คือ FALSE ถึงแม้ว้าจะมีไฟล์นั้นอยู่จริงก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้งานที่ถูกต้องคือ file_exists($_SERVER['DOCUMENT_ROOT'] . '/images/news/helloworld.jpg'); จากตัวอย่างที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่าคำสั่ง file_exists นั้นใช้สำหรับเช็ค path ในโฟลเดอร์จริงๆ เท่านั้น ไม่สามารถเช็คจาก URL ได้ อันนี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ผมเข้าใจผิดมาอยู่นานเลยทีเดียวเลยต้องขอลงบันทึกเตือนตัวเองไว้อีกที :3