ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ขั้นตอนการติดตั้ง Yii สำหรับสร้าง Web Application บน windows

ต้องบอกผมยังเป็นมือใหม่สำหรับ Framework Yii เป็นอย่างมาก และ Tutorials หรือ Guide ที่ครบถ้วนเหมือนอย่าง Codeigniter ก็มี แต่ไม่มากนัก ซึ่งสำหรับมือใหม่ Framework ต้องใช้เวลาค้นหานานพอสมควร ยิ่งถ้าคุณเริ่ม Framework ตัวแรกเป็น Codeigniter แล้วล่ะก็การมาจับ Yii ขั้นตอนการลง และวิธีใช้งานมันจะแปลกตาจนบางทีชวนให้คุณรู้สึกไม่คุ้นเคย ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วก็ยังคงใช้หลักการ MVC เหมือนกัน

ขั้นตอนการลง Yii ขอยกตัวอย่างบน Window นะครับ เพราะเห็นว่ามีน้อย และเข้าใจยาก ซึ่งจะลงผ่าน CMD (อาจจะต้องมีความรู้เรื่องการใช้เบื้องต้น)



ขั้นตอนแรก เมื่อเปิด cmd มาแล้ว เราต้องเลื่อนไปที่ Folder ที่เราเก็บไฟล์ install Yii ไว้ ซึ่งภายใน Folder นั้นๆ จะต้องมีไฟล์ที่ชื่อ Yiic อยู่ด้วยเป็นตัวที่ใช้สำหรับ Complie Cmd ต่างๆ ของ Yii โดย พิมคำสั่ง



จากนั้นเราจะสร้าง Yii Application โดยการพิมคำสั่ง



ก่อนจะสร้าง จะมีคำถามว่าเราต้องการสร้าง Project ที่โฟลเดอร์ที่เราใส่ไปหรือไม่? ก็ตอบตกลงไป เราก็จะได้ โฟลเดอร์ใหม่ ชื่อ myProject ที่เราสร้างขึ้นมา ให้เราสร้างเว็บจากโฟลเดอร์นี้ และห้ามลบไฟล์ install เนื่องจากเป็นระบบพิเศษของ Yii ทำให้ลบไม่ได้





จากตัวอย่าง ผมได้ทำการ ตั้ง enviroment ของ PHP แล้วทำให้สามารถเรียกใช้งาน Yiic ได้ตรงๆ หากท่านไหนที่ทำตาม แล้วทำไม่ได้ ให้ลองตั้ง environment path ให้กับ PHP ก่อนนะครับ
ส่วนวันนี้ขอตัวก่อนนะครับ ;)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเพิ่ม Font ภาษาไทยอื่นๆ เข้าไปใช้งานใน MPDF

เนื่องมาจากผมได้มีโอกาสจับงานที่ต้องแปลงหน้าเว็บให้เป็น PDF ลองๆ หาข้อมูลก็ไปเจอเจ้าตัวนี้ MPDF  ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีให้ใช้งานอีกหลายๆ ตัว สาเหตุที่เลือกใช้งานตัวนี้เพราะมัน ค่อนข้างจะติดตั้ง และใช้งานง่าย และยังสามารถอ้างอิง CSS เข้ามาช่วยจัดหน้าตาใน PDF ได้อีกด้วย ซึ่งผลที่ได้เพี้ยนไปจากตัวจริงไม่มากครับ แต่ที่ทำให้เลือกใช้งานเพราะการเพิ่มฟ้อนท์ภาษาไทย เข้าไปนั้นค่อนข้างง่ายครับ เลยจะขอมาแนะนำดังนี้

มาเข้าใจ และใช้ Datatable ดึงข้อมูลแบบ Server-side ด้วย PHP, MySQL กันเถอะ

มีช่วงหนึงผมเคยนำ datatable มาพัฒนาในงานแต่เกิดปัญหาเนื่องจากมีข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการโหลดในครั้งแรกที่โหลดหน้าเพจนั้นๆ เนื่องจากผมใช้ Ajax ในการโหลดข้อมูลทั้งหมดมาในครั้งเดียวด้วยจำนวนข้อมูล 1000 ขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่าการทำ preload น่าจะช่วยได้ แต่ว่าถ้า user เกิดเผลอไปกด refesh หรือแก้ไขข้อมูลเวลากลับมาที่หน้าข้อมูลก็ต้องโหลดใหม่อีก ทำให้ผมเลิกใช้ datatable ไปเลย เพราะคิดว่ามันคงไม่เหมาะ แต่ในความจริงแล้ว datatable ก็ได้มีสิ่งที่มาแก้ในจุดนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า server-side โดยการที่อนุญาตให้เรา query ข้อมูลออกมาก่อนแล้วส่งมาให้ datatable อ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยลง หลักการก็เหมือนๆ กับบทความการทำสร้าง XML จากข้อมูลขนาดใหญ่นั่นแหละครับ แต่มีเงื่อนไขเพียงแต่ว่า ต้อง Filter และส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ตรงตามหลักของ datatable เท่านั้น ( บางครั้งเวลาเข้าไปอ่าน Document หรือดู Example จะงงๆ ว่าอะไรเยอะแยะ ) โดยวันนี้จะมาแนะนำการใช้งานแบบง่ายๆ กันเลย :D

การใช้งาน คำสั่ง file_exists() อย่างเข้าใจ

นี่อาจจะไม่เรื่องใหม่อะไรสำหรับ Professional ทั้งหลาย แต่ว่าสำหรับผมที่เข้าใจ และใช้งานอย่างผิดๆ มาตลอด จนบางทีก็เข้าใจว่า เราเขียนผิด หรือ คำสั่งมันใช้งานไม่ได้ วันนี้จะขอมาพูดถึงเรื่องของคำสั่ง PHP ที่ชื่อ file_exists เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบไฟล์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่? ตัวอย่างการใช้งานแบบผิดๆ ที่ผมใช้ก็คือ file_exists('/images/news/helloworld.jpg'); ผลลัพธ์ที่ได้คือ FALSE ถึงแม้ว้าจะมีไฟล์นั้นอยู่จริงก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้งานที่ถูกต้องคือ file_exists($_SERVER['DOCUMENT_ROOT'] . '/images/news/helloworld.jpg'); จากตัวอย่างที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่าคำสั่ง file_exists นั้นใช้สำหรับเช็ค path ในโฟลเดอร์จริงๆ เท่านั้น ไม่สามารถเช็คจาก URL ได้ อันนี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ผมเข้าใจผิดมาอยู่นานเลยทีเดียวเลยต้องขอลงบันทึกเตือนตัวเองไว้อีกที :3