ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน jQuery Validation Plugin ตอนที่ 1


สมัยก่อนตอนเขียนเว็บใหม่ๆ การกรอกฟอร์มต่างๆ ผมมักจะเขียนตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ด้วย PHP ตลอด ถึงแม้ว่ามันจะสะดวกและง่าย แต่ว่าวิธีจะมีปัญหาในเรื่องการเก็บค่าต่างๆ ที่ผู้ใช้งานเคยกรอกไปแล้วในส่วนที่ถูกต้อง ซึ่งก็ทำให้ต้องมานั่งเขียนเก็บค่าที่รับมาจากฟอร์มไว้ แล้วส่งกลับไปยังหน้าเดิม ยิ่งถ้าฟอร์มมี input เยอะๆ ก็ต้องมานั่งเขียนเก็บค่าตามฟอร์ม อีกทั้งยังต้องมาเขียนตรวจสอบข้อมูลที่รับมาอีก



ปัญหานี้จะหมดไปหากท่านใช้ Javascript จริงๆ มันก็ไม่ไช่เรื่องใหม่อะไร กับการนำ Javascript เข้ามาใช้ในการช่วยตรวจเช็คข้อมูลว่ามีความถูกต้องหรือไม่ ส่วนตัวไม่ค่อยชอบ Javascript เท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยจะเข้าใจการเรียกใช้งาน หรือแม้แต่การจะเข้าถึง element htm ใดๆ แต่ว่าในปัจจุบันมี Javascrpt Library อย่าง jQuery ออกมาให้ใช้งาน ผมคิดว่ามันใช้งานง่ายขึ้นกว่าเดิม เลยลองหันมาใช้ตัว jQuery Validation Plugin ดู ซึ่งผลก็ออกมา โอเคเลยครับ ยืดหยุ่น มากๆ ซึ่งท่านสามารถ download ได้จาก ที่นี่

ส่วนวิธีการใช้งานนั้นก็มีหลายแบบ วันนี้ผมจะขอเสนอแบบง่ายๆ ก่อนนะครับ

ขั้นตอนแรกก็เรียกไฟล์ jquery ซึ่งสามารถหาโหลดได้จากเว็บของ jquery เลยครับ ชอบเวอร์ชันไหนก็เลือกเลยยยย ของผมใช้ 2.0.3 และเรียกไฟล์ jQuery Validate มาด้วย แบบนี้ครับ



จากนั้นก็ทดสอบ สร้างฟอร์มง่ายๆ แล้วกำหนด id ให้กับฟอร์มนั้นๆ ด้วยนะครับ เพราะเราจะเรียกใช้คำสั่งด้วย id ของฟอร์มที่เราสร้าง แบบนี้ครับ
username :
email :
address:

แล้วมาเรียกใช้ตัว Validate ต่อจาก ฟอร์มที่เราสร้างแบบนี้ครับ



วิธีการเรียกใช้งานแบบนี้จะเป็นแบบอัตโนมัตินะครับ เราจะไม่สามารถแก้ไข หรือเปลี่ยนการเช็คอะไรได้มาก วิธีการเช็คตามตัวอย่างหาก เราใส่คำว่า required ที่ input ตัวไหน มันก็จะฟ้องว่าให้เราเติมค่านั้น อย่าให้เป็นค่าว่าง หรือถ้าหากเรา ใช้ input กำหนดชื่อ เป็น อีเมล์ มันก็เช็คว่ารูปแบบนั้นถูกต้องหรือไม่

ส่วนวันนี้วันนี้ขอจบเพียงเท่านี้นะครับ มีโอกาสว่างเมื่อไหร่จะมาพูดถึงการเรียกใช้งานในแบบอื่นๆ นะครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเพิ่ม Font ภาษาไทยอื่นๆ เข้าไปใช้งานใน MPDF

เนื่องมาจากผมได้มีโอกาสจับงานที่ต้องแปลงหน้าเว็บให้เป็น PDF ลองๆ หาข้อมูลก็ไปเจอเจ้าตัวนี้ MPDF  ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีให้ใช้งานอีกหลายๆ ตัว สาเหตุที่เลือกใช้งานตัวนี้เพราะมัน ค่อนข้างจะติดตั้ง และใช้งานง่าย และยังสามารถอ้างอิง CSS เข้ามาช่วยจัดหน้าตาใน PDF ได้อีกด้วย ซึ่งผลที่ได้เพี้ยนไปจากตัวจริงไม่มากครับ แต่ที่ทำให้เลือกใช้งานเพราะการเพิ่มฟ้อนท์ภาษาไทย เข้าไปนั้นค่อนข้างง่ายครับ เลยจะขอมาแนะนำดังนี้

การใช้งาน คำสั่ง file_exists() อย่างเข้าใจ

นี่อาจจะไม่เรื่องใหม่อะไรสำหรับ Professional ทั้งหลาย แต่ว่าสำหรับผมที่เข้าใจ และใช้งานอย่างผิดๆ มาตลอด จนบางทีก็เข้าใจว่า เราเขียนผิด หรือ คำสั่งมันใช้งานไม่ได้ วันนี้จะขอมาพูดถึงเรื่องของคำสั่ง PHP ที่ชื่อ file_exists เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบไฟล์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่? ตัวอย่างการใช้งานแบบผิดๆ ที่ผมใช้ก็คือ file_exists('/images/news/helloworld.jpg'); ผลลัพธ์ที่ได้คือ FALSE ถึงแม้ว้าจะมีไฟล์นั้นอยู่จริงก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้งานที่ถูกต้องคือ file_exists($_SERVER['DOCUMENT_ROOT'] . '/images/news/helloworld.jpg'); จากตัวอย่างที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่าคำสั่ง file_exists นั้นใช้สำหรับเช็ค path ในโฟลเดอร์จริงๆ เท่านั้น ไม่สามารถเช็คจาก URL ได้ อันนี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ผมเข้าใจผิดมาอยู่นานเลยทีเดียวเลยต้องขอลงบันทึกเตือนตัวเองไว้อีกที :3

มาเข้าใจ และใช้ Datatable ดึงข้อมูลแบบ Server-side ด้วย PHP, MySQL กันเถอะ

มีช่วงหนึงผมเคยนำ datatable มาพัฒนาในงานแต่เกิดปัญหาเนื่องจากมีข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการโหลดในครั้งแรกที่โหลดหน้าเพจนั้นๆ เนื่องจากผมใช้ Ajax ในการโหลดข้อมูลทั้งหมดมาในครั้งเดียวด้วยจำนวนข้อมูล 1000 ขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่าการทำ preload น่าจะช่วยได้ แต่ว่าถ้า user เกิดเผลอไปกด refesh หรือแก้ไขข้อมูลเวลากลับมาที่หน้าข้อมูลก็ต้องโหลดใหม่อีก ทำให้ผมเลิกใช้ datatable ไปเลย เพราะคิดว่ามันคงไม่เหมาะ แต่ในความจริงแล้ว datatable ก็ได้มีสิ่งที่มาแก้ในจุดนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า server-side โดยการที่อนุญาตให้เรา query ข้อมูลออกมาก่อนแล้วส่งมาให้ datatable อ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยลง หลักการก็เหมือนๆ กับบทความการทำสร้าง XML จากข้อมูลขนาดใหญ่นั่นแหละครับ แต่มีเงื่อนไขเพียงแต่ว่า ต้อง Filter และส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ตรงตามหลักของ datatable เท่านั้น ( บางครั้งเวลาเข้าไปอ่าน Document หรือดู Example จะงงๆ ว่าอะไรเยอะแยะ ) โดยวันนี้จะมาแนะนำการใช้งานแบบง่ายๆ กันเลย :D