ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน MailChimp ร่วมกับ Laravel



MailChimp คืออะไร? คือผู้ให้บริการส่งเมลที่ตอบสนองกระบวนการทางการตลาดที่ได้รับความนิยม เนื่องจากรองรับการส่งเมลในจำนวนมากอีกทั้งมีระบบจัดการที่ง่าย ข้อสำคัญที่สุด คือ ใครๆ ก็สามารถใช้งานได้ หมดปัญหาเรื่องรูปแบบอีเมล คุณจะสามารถส่งอีเมลได้ในรูปแบบที่สวยงาม และแน่นอนบุคลากรทั่วๆ ไปที่ไม่ไช่โปรแกรมเมอร์ก็สามารถแก้ไขรูปแบบหน้าตาอีเมลได้สบายๆ เพราะ MailChimp มีเครื่องมือที่ใช้งานง่ายๆ ตอบสนองผู้ใช้งานทั่วไป

ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้มาอวย MailChimp นะครัช แล้วก็ไม่ได้ค่าคอมด้วยเออ แต่วันนี้จะมาแนะนำการใช้งาน MailChimp กับ Laravel ผ่าน Libary ตัวหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีอยู่หลายรูป วันนี้ขอแนะนำตัวนี้เลย

https://packagist.org/packages/altelma/laravel-mailchimp


สำหรับใครที่เคยใช้งาน Laravel มาแล้วคงทราบดีว่า เราต้องโหลดแพ็คเกจนั้นมาใส่ในโปรเจ็คของเราก่อนผ่าน Composer จากนั้นก็ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

เริ่มโดยการโหลดแพ็คแกจก่อนด้วยคำสั่ง
require composer altelma/laravel-mailchimp --prefer-dist dev-master

จากนั้นให้เพิ่ม ServiceProvider ลงไปที่ config/app.php
providers => [
     LaravelMailChimp\MailChimpServiceProvider::class
]

หากใครต้องการใช้ Alias Class ก็เพิ่มบรรทัดนี้ไปด้วย
aliases => [
     'MailChimp' => LaravelMailChimp\MailChimpFacade::class
]

เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้เรียกคำสั่ง
php artisan vendor:publish เพื่อสั่งให้สร้างไฟล์ mailchimp.php มาให้เพื่อที่เราจะนำ apikey จาก Mailchimp Account มาใส่

จากนั้นก็ทดสอบการใช้งาน
// ใช้งานแบบปกติ
$mc = new MailChimp('Your API KEY');
$results = $mc->get('lists/your_directory_list/members');

echo json_decode($results);

// ใช้แบบผ่าน Alias Class
$results = \MailChimp::get('lists/your_directory_list/members');
echo json_decode($results);

เท่านี้เราก็จะสามารถใช้งานเว็บเรากับ MailChimp ได้อย่างง่ายๆ แล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเพิ่ม Font ภาษาไทยอื่นๆ เข้าไปใช้งานใน MPDF

เนื่องมาจากผมได้มีโอกาสจับงานที่ต้องแปลงหน้าเว็บให้เป็น PDF ลองๆ หาข้อมูลก็ไปเจอเจ้าตัวนี้ MPDF  ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีให้ใช้งานอีกหลายๆ ตัว สาเหตุที่เลือกใช้งานตัวนี้เพราะมัน ค่อนข้างจะติดตั้ง และใช้งานง่าย และยังสามารถอ้างอิง CSS เข้ามาช่วยจัดหน้าตาใน PDF ได้อีกด้วย ซึ่งผลที่ได้เพี้ยนไปจากตัวจริงไม่มากครับ แต่ที่ทำให้เลือกใช้งานเพราะการเพิ่มฟ้อนท์ภาษาไทย เข้าไปนั้นค่อนข้างง่ายครับ เลยจะขอมาแนะนำดังนี้

การใช้งาน คำสั่ง file_exists() อย่างเข้าใจ

นี่อาจจะไม่เรื่องใหม่อะไรสำหรับ Professional ทั้งหลาย แต่ว่าสำหรับผมที่เข้าใจ และใช้งานอย่างผิดๆ มาตลอด จนบางทีก็เข้าใจว่า เราเขียนผิด หรือ คำสั่งมันใช้งานไม่ได้ วันนี้จะขอมาพูดถึงเรื่องของคำสั่ง PHP ที่ชื่อ file_exists เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบไฟล์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่? ตัวอย่างการใช้งานแบบผิดๆ ที่ผมใช้ก็คือ file_exists('/images/news/helloworld.jpg'); ผลลัพธ์ที่ได้คือ FALSE ถึงแม้ว้าจะมีไฟล์นั้นอยู่จริงก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้งานที่ถูกต้องคือ file_exists($_SERVER['DOCUMENT_ROOT'] . '/images/news/helloworld.jpg'); จากตัวอย่างที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่าคำสั่ง file_exists นั้นใช้สำหรับเช็ค path ในโฟลเดอร์จริงๆ เท่านั้น ไม่สามารถเช็คจาก URL ได้ อันนี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ผมเข้าใจผิดมาอยู่นานเลยทีเดียวเลยต้องขอลงบันทึกเตือนตัวเองไว้อีกที :3

มาเข้าใจ และใช้ Datatable ดึงข้อมูลแบบ Server-side ด้วย PHP, MySQL กันเถอะ

มีช่วงหนึงผมเคยนำ datatable มาพัฒนาในงานแต่เกิดปัญหาเนื่องจากมีข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการโหลดในครั้งแรกที่โหลดหน้าเพจนั้นๆ เนื่องจากผมใช้ Ajax ในการโหลดข้อมูลทั้งหมดมาในครั้งเดียวด้วยจำนวนข้อมูล 1000 ขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่าการทำ preload น่าจะช่วยได้ แต่ว่าถ้า user เกิดเผลอไปกด refesh หรือแก้ไขข้อมูลเวลากลับมาที่หน้าข้อมูลก็ต้องโหลดใหม่อีก ทำให้ผมเลิกใช้ datatable ไปเลย เพราะคิดว่ามันคงไม่เหมาะ แต่ในความจริงแล้ว datatable ก็ได้มีสิ่งที่มาแก้ในจุดนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า server-side โดยการที่อนุญาตให้เรา query ข้อมูลออกมาก่อนแล้วส่งมาให้ datatable อ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยลง หลักการก็เหมือนๆ กับบทความการทำสร้าง XML จากข้อมูลขนาดใหญ่นั่นแหละครับ แต่มีเงื่อนไขเพียงแต่ว่า ต้อง Filter และส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ตรงตามหลักของ datatable เท่านั้น ( บางครั้งเวลาเข้าไปอ่าน Document หรือดู Example จะงงๆ ว่าอะไรเยอะแยะ ) โดยวันนี้จะมาแนะนำการใช้งานแบบง่ายๆ กันเลย :D